วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตอนที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 10  ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

                การเกิดของศาสนาพราหมณ์แตกต่างกับศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลามที่เกิดขึ้นเพราะมีคน ๆ  หนึ่งค้นพบความสำเร็จในหลักธรรม  แล้วสั่งสอนคนทั้งหลายในฐานะเป็นศาสดาคำสอนที่ท่านสอนก็เป็นศาสนา    แต่ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาโดยคำสอนต่างๆที่เกิดขึ้นเพราะมีผู้รวบรวมลัทธิดั้งเดิมของชาวชมพูทวีป  (อินเดีย - เนปาลร้อยกรองเข้าเป็นรูปของศาสนาโดยมีการดัดแปลง แก้ไขอยู่เสมอ  เพื่อให้เข้ากับความเชื่อถือของประชาชน ซึ่งเป็นข้อแตกต่างกับศาสนาอื่นในแง่ที่ดึงศาสนาไปหาความเชื่อของคน แทนที่จะดึงความเชื่อของคนเข้าหาศาสนา  อ่านเพิ่มเติม


ตอนที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทางให้มนุษย์สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง  แม้แต่ละศาสนาจะมีมูลเหตุการเกิดที่ต่างกัน   แต่ก็ล้วนมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เหมือนกัน  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา  เพื่อจะได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม  อ่านเพิ่มเติม

ตอนที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ

พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้  อ่านเพิ่มเติม

ตอนที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 พุทธสาวก  พุทธสาวิกา  และศาสนิกชนตัวอย่าง

พุทธสาวก พุทธสาวิกา
พระอัสสชิเถระ
  - ประวัติโดยย่อ
  - คุณธรรมหรือแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
พระกีสาโคตมีเถรี
  - ประวัติโดยย่อ
  - คุณธรรมหรือแบบอย่างในการดำเนินชีวิต  อ่านเพิ่มเติม

ตอนที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา

การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตน ตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา  และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา  อ่านเพิ่มเติม
ตอนที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5  พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ  พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย  พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท  อ่านเพิ่มเติม

ตอนที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่บังเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ในโลกนี้  ให้หลุดพ้นจากความทุกข์  เพราะมนุษย์ต้องอยู่เป็นกลุ่มในสังคมที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นสังคมที่มีความเจริญรุ่งเรือง  เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีพ แต่ขณะเดียวกันก็เกิดความไม่สงบขาดความมั่นคงด้าน
จิตใจขาดหลักที่พึ่งทางใจทำให้มีปัญหาต่อการดำรงชีวิตของตนเองและส่วนรวมหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมุ่งที่สอนให้มนุษย์มีหลักที่พึ่งทางใจ  และมีแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่จะทำให้เกิดมงคลแก่ชีวิต อันจะทำให้มนุษย์สามารถอยู่รวมกันในสังคมด้วยความสงบสุขและเจริญก้าวหน้า  อ่านเพิ่มเติม